วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความรู้พื้นฐานการทำอาหารเบื้องต้น ตอน มะพร้าว


ความรู้พื้นฐานการทำอาหารเบื้องต้น  ตอน  มะพร้าว



มะพร้าวอ่อน
รสชาติของมะพร้าว
มะพร้าวอ่อนมีรสชาติ  มัน ๆ หอม ๆ หวานนิด ๆ 

มะพร้าว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย 
น้ำ  ใช้ดื่มสด ๆ  รสหวาน ชื่นใจ
เนื้อมะพร้าวอ่อน  รับประทานสด ๆ ให้รสหวานหอม
เนื้อมะพร้าวทึนทึก  ขูดใส่ขนม หรือเป็นส่วนผสม
เนื้อมะพร้าวแก่  ใช้คั้นกะทิทำขนม อาหารต่าง ๆ
กาบมะพร้าวเผา  กรองเอาน้ำใช้ทำขนมเปียกปูน


มะพร้าวจึงเป็นวัตถุดิบอีกนิดที่นิยมนำมาประกอบเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารไทย และขนมไทยเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากความหวาน มัน  หอม อร่อย ช่วยเสริมรสชาติให้อาหารน่ากินมากยิ่งขึ้น  มะพร้าวจึงถูกนำมาประกอบในการทำอาหารและขนมต่าง ๆ
ตัวอย่างอาหารไทยที่ใช้มะพร้าวหรือกะทิเป็นส่วนประกอบ
เช่น แกงเขียวหวาน  ขนมจีนน้ำยา  แกงเผ็ด  หลนต่าง ๆ  เป็นต้น

ขนม  ของหวาน  แทบทุกอย่างล้วนมีมะพร้าวเป็นส่วนผสม
เช่น  ข้าวเหนียวมูล  ข้าวเหนียวแก้ว  บัวลอย  ข้าวต้มกะทิ  ขนมต้ม  ขนมเทียน  ขนมใส่ไส้  เป็นต้น

วิธีนึ่งเห็ดนางฟ้า


วิธีนึ่งเห็ดนางฟ้า
]



วัตถุดิบ/เครื่องปรุง
เห็ดนางฟ้า
ซีอิ้วขาว
ผงปรุงรส

วิธีทำ
1. ล้างเห็ดให้สะอาด 
2.  นำเห็ดที่ล้างเสร็จมาหมักซีอิ้วขาวผงปรุงรส
3.  ตั้งหม้อนึ่งให้ร้อน  นำเห็ดลงไปนึ่งประมาณ 10 – 15 นาที
4.  ยกลงจากหม้อนึ่ง  จัดใส่จานจิ้มกับน้ำพริกข่า

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พริกข่า


พริกข่า


วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  พริกแห้ง  จี่ไฟให้หอม
2.  ข่าสด
3.  เกลือ
4.  น้ำปลา
5.  กระเทียม

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.  ครก

วิธีทำ
1.  นำข่าที่ได้มาหั่นขนาดพอเหมาะ
2.  นำพริกแห้งที่เตรียมไว้  โขลกให้ละเอียดพอประมาณ
3.  ใส่กระเทียมที่เตรียมไว้  โขลกให้เข้ากันกับพริก 
4.   นำข่าหั่นลงไปโขลก ใส่เกลือเล็กน้อย
5.  ตักใส่ถ้วย รับประทานกับเห็ดนึ่ง 
6.  ก่อนรับประทานใส่น้ำปลาเล็กน้อยเพื่อความอร่อย

*หมายเหตุ
พริกข่าเป็นสูตรอาหารพื้นบ้านของคนเมืองเหนือ  หรือคนล้านนา  นิยมรับประทานกับเห็ดนึ่ง  เนื้อนึ่งหรือตามชอบ  แต่เวลาโขลกพริกข่าไม่ควรตำให้ละเอียดมาก  ตำพอหยาบๆ  จะได้กินหอมของพริกและข่า
 
เขียน  วันที่ 03/07/2555
ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

จิ้นปิ้ง (หมูปิ้ง)


จิ้นปิ้ง (หมูปิ้ง)


วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  เนื้อหมูติดมัน หรือเนื้อหมูส่วนซี่โครง
2.  เกลือ
3.  กระเทียม
4.  ซอสปรุงรส

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.  ตะแกรงปิ้งเนื้อ
2.  เต้าอั้งโล่ หรือเต้าถ่าน

วิธีทำ
1.  นำเนื้อหมูหมักกับกระเทียมโขลกเหลือ  และซอสปรุงรสเล็กน้อย  ใช้เวลาหมักประมาณ 10 – 15  นาที
2.  ตั้งเต้าใส่ถ่านให้แดง
3.  น้ำเนื้อที่หมักปิ้งให้สุกหอม 
4.   ยกลงกินกับข้าวเหนียว

*หมายเหตุ
จิ้นปิ้ง หรือหมูปิ้งแบบพื้นบ้านแต่เดิมหมักกับเกลือและกระเทียมเท่านั้น  รสชาติอร่อยแบบเค็ม ๆ มัน ๆ  แต่ผู้เขียนประยุกต์โดยใส่ซอสเล็กน้อยให้หอมและอร่อยตามแบบสมัยใหม่อีกนิด  แต่แบบเดิมคือใส่แต่เกลือและกระเทียมอร่อยแบบธรรมชาติอีกแบบลองทำดูนะครับ
 
เขียน  วันที่ 03/07/2555
ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

การหมก


การหมก


การหมก คือ กรรมวิธีการปรุงอาหารแบบพื้นบ้านของไทยแต่ละภาค  แต่ที่ผู้เขียนนำเสนอคือ  การทำอาหารแบบพื้นบ้านภาคเหนือ  คือ  การหมก
การหมกนั้นนิยมหมก เช่น  ปลาร้า  หอมแดง   พริกหนุ่ม  พริกต่าง ๆ กะปิ  กระเทียม  เป็นต้น
การหมกจะทำให้เครื่องปรุงที่หมกมีความหอมมากขึ้น  เวลาปรุงอาหารจะหอมและอร่อยมากขึ้น
ความหอมจากใบตองและเครื่องปรุง เช่น  พริก  หอมแดง  กะปิ จะมีความชุ่มไม่แห้งเหมือนการปิ้ง หรือจี่เหมาะสำหรับอาหารจำพวกน้ำพริกแบบพื้นบ้านมาก
 
 
เขียน  วันที่ 03/07/2555
ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

กล้วยแขก


กล้วยแขก



วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  กล้วยน้ำว้า  ห่าม ๆ 
2.  แป้งทอดกรอบ
3.  น้ำปูนใส
4.  น้ำมันพืช
5.  ใบเตย  
6.  เกลือ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.  กระทะ
2.  ทัพพีหรือกระชอน/
3.  ถาด
4.  กระดาษซับน้ำมัน
5. 

วิธีทำ
1.  เตรียมน้ำปูนใสแช่น้ำให้ตกตะกอน
2.  นำกล้วยน้ำว้ามาผ่าเป็นแผ่น ๆ ขนาดพอเหมาะ แช่ในน้ำปูนใส
3.  นำแป้งสำหรับทอดกรอบผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดใส่เกลือลงไปเล็กน้อย
2.  ตั้งน้ำมันให้ร้อน ฆ่าแม่น้ำมันด้วยใบเตยลงไปทอดก่อนแล้วตักทิ้ง  นำกล้วยที่เตรียมไว้ชุบแป้งแล้วหย่อนลงกระทะที่น้ำมันร้อน
3.   เมื่อกล้วยเริ่มสีออกเหลือง ๆ  ยกขึ้นแล้วสะเด็ดน้ำมันพักไว้ให้เย็น

*หมายเหตุ
การทำกล้วยแขกไม่ให้อมน้ำมัน  สิ่งที่สำคัญคือการเลือกกล้วยที่ไม่สุกมากจนเกินไป  เลือกกล้วยที่ห่าม ๆ ที่เปลือกกล้วยยังเขียวอยู่  แล้วเวลาทำให้แช่น้ำปูนใสกล้วยที่ทอดจะได้กรอบอร่อย
 
เขียน  วันที่ 03/07/2555
ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู