วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีทำกล้วยตาก

การทำกล้วยตาก : เคล็ดลับการทำกล้วยตากให้สีสวยแบบบ้านๆ


วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
- กล้วยน้ำว้าสุก  2 – 3  หวี

อุปกรณ์
- ถาด/ภาชนะสำหรับตากกล้วย
- ซึ้งนึ่ง
- น้ำเปล่า

วิธีทำ
1. คัดเลือกกล้วยน้ำว้าที่มีผลสีเหลืองสุก  หรือจะนำเอากล้วยที่สุกมากมาแปรรูปเป็นกล้วยตากก็ได้  เพราะเราจะทำการถนอมอาหาร คือ  ทำให้กล้วยสามารถเก็บไว้กินได้นาน  
2.  ปอกเปลือกกล้วยออก แล้วนำเอากล้วยมาจัดวางลงภาชนะ
3.  นำกล้วยที่จัดเรียงไปตากแดดในช่วงแรก ประมาณ 3 – 4  วัน  ช่วงนี้กล้วยจะเริ่มเปลี่ยนสีเริ่มแห้ง  แต่กล้วยบางส่วนสีจะไม่เสมอกัน  บางลูกแห้งเกินไป
4.  นำกล้วยมานึ่งด้วยซึ้งนึ่งเพื่อให้กล้วยมีความชื่นภายในกล้วย ไม่แห้งจนเกินไป  อีกทั้งสีที่ได้จะมีสีน้ำผึ้ง  คือ  สีน้ำตาล  มีความหวานเสมอกัน  (การนึ่งเราต้องการความชื่นให้กล้วยและต้องการให้สีเปลี่ยน  ควรสังเกตไม่ควรนึ่งนานเกินไปหรือเร็วเกินไป  เอากำลังพอดี  ฝึกสังเกตเอานะไม่ยากถ้าคิดจะทำอาหาร  ทำขนมต้องเรียนรู้  ทำ  ทำ  ทำ  เท่านั้นแล้วคุณจะชำนาญ)
5.  นำเอากล้วยที่นึ่งมาทำการผึ่งแดดอีกครั้ง  ครั้งที่ 2  ใช้เวลาตากประมาณ 3 – 4  วัน  สังเกตดูว่ากล้วยเริ่มมีความแห้งพอดีหรือยัง  ถ้าแห้งกำลังพอดี  ก็นำเก็บใส่ถุง เป็นอันว่าเสร็จขั้นตอน

**************************
หลายคนคงจะมีคำถามที่ว่า  ทำกล้วยตากกินเองแล้วทำไมมันไม่เหมือนที่เขาขาย  มันแห้งไป  มันแข็งไป  สีไม่สวย  หลายคำถามจะหมดไปเพราะเรานำเสนอเคล็ดลับมาฝาก 
**************************


***หมายเหตุ***
การทำกล้วยตากแต่ละสูตรจะมีเทคนิคแตกต่างกันออกไป  บางคนใช้วิธีการอบ  บางคนใช้วิธีการนึ่ง  บางคนตากอย่างเดียว  ก็แล้วแต่คนชอบ
แต่สำหรับเคล็ดลับที่นำมาฝาก  คือการตากแล้วนำมานึ่งจะช่วยเพิ่มสีสัน และความเหนียวให้เหมือนกล้วยที่เขาทำขาย  ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีสูตรลับที่ไม่ค่อยจะบอกกัน   ซึ่งข้อดีของการนำไปนึ่งจะช่วยให้กล้วยที่ตกแห้งในช่วงแรกมีความชื้นคืนมาแล้วทำให้กล้วยมีน้ำหวานซึมออกมาเพิ่ม  ผิวสัมผัสไม่แห้งจนเกินไป  เพราะจากประสบการณ์การลองผิดลองถูก  ผู้เขียนเคยลองทำกล้วยตากแบบบ้าน ๆ วิธีที่ 1 นึ่งแล้วเอามาตากสีกล้วยซีดจางไม่สวย
วิธีที่ 2  ที่คนมักจะใช้กันคือ  ตากแดดอย่างเดียว  ก็ไม่ได้ผลกล้วยแห้ง  แข็ง  ไม่สม่ำเสมอ
จนมาถึงเคล็ดลับนี้ คือ การทำกล้วยตากให้สีสวย  เหนียว  หวาน  คือ  การนึ่งในขั้นตอนที่ 2  แล้วค่อยตาก  น้ำตาลในกล้วยจะกระจายทั่วผลกล้วยที่ตาก  จึงได้กล้วยตากสวย ๆ  ดังที่เห็นนะจ๊ะ




เขียน  วันที่ 30  กันยายน  2557

ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

การทำวุ้นกะทิ

การทำวุ้นกะทิ : ฉบับบ้าน ๆ  สำหรับงานเลี้ยง


วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1. ผงวุ้น
2.  น้ำตาลทรายขาว
3.  ใบเตย
4.  กะทิสด หรือกะทิแบบกล่อง
5.  น้ำเปล่า

อุปกรณ์
- ถาด/ภาชนะใส่วุ้น
- หม้อต้ม


สำหรับการทำวุ้นอัตราส่วนสามารถสังเกตได้จากหน้าซองวุ้นผง  ซึ่งบอกรายละเอียดไว้เรียบร้อย 

วิธีทำ
1. ตั้งหม้อต้ม  เติมน้ำในปริมาณที่ชั่งตวง  ส่วนตัวแล้วใช้วิธีคาดคะเนเอา  เพราะการทำเลี้ยงคนจำนวนมาก  มันไม่เหมือนกับการทำกินเองเล็ก ๆ น้อย ๆ  จึงต้องชั่งตวงบวกกับการคาดคะเน เพื่อน้ำด้วยเพราะเวลาเคี่ยวให้มันเซตตัวทำให้น้ำละเหยออกไปบางส่วน อีกทั้งยังต้องการให้วุ้นแข็งตัวกำลังพอดี
2.  ใส่ใบเตยมัดลงไปในน้ำที่ต้ม  ละลายผงวุ้นในถ้วยตวงกับน้ำเทลงไปรวมกับน้ำที่ต้ม  เพิ่มน้ำตาล   เคี่ยวด้วยไปปานกลางไปเรื่อย  ๆจนวุ้นเริ่มละลายและเซตตัว  การสังเกตจากาตักมาหมอยลงจานที่เย็น ๆ ถ้าวุ้นได้ที่มันจะเป็นก้อน  แต่ถ้ายังไม่ได้ก็เคี่ยวต่อไป  อุณหภูมิ และระยะเวลามีส่วนสำคัญ  ต้องคอยสังเกต
(การใส่ใบเตยทั้งมัดลงไป  เราต้องการแต่กลิ่นไม่ต้องการสี  ทำแบบโบราณ  เมื่อเสร็จจึงตักใบเตยทิ้ง  คนแก่ชอบกินแบบเดิม ๆ จึงใช่สูตรดังกล่าว)
3.  เมื่อวุ้นสุกได้ที่ตักใส่ถาด  เว้นช่วงสำหรับวุ่นกะทิที่จะเทอีกชั้นไว้ด้วย  รอให้เย็น
4.  ทำวุ่นอีกชั้นขั้นตอนเหมือนเดิม  เพียงแต่เติมกะทิลงไป  สำหรับกะทิสดอร่อยหอม  แต่เก็บไว้ได้ไม่นาน  จึงเลือกใช้กะทิกล่อง  นำมาเคี่ยวให้สุก  สังเกตจากการตักมาหยอดลงจาน  ถ้าเซตตัวดีก็ใช้ได้  นำมาเทลงไปอีกชั้นบนถาดวุ้นที่เตรียมไว้  ทิ้งไว้ให้เย็นในอุณหภูมิห้อง  ไม่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น  ทำค้างไว้ 1  คืนก็ไม่เสีย    



***หมายเหตุ***
การทำวุ่นกะทินั้น  ขึ้นอยู่กับว่าจะทำเพื่ออะไร  ทำขาย  ทำกินเอง  ทำเลี้ยงในงาน  แถบเชียงใหม่ในโซนที่ผู้เขียนอาศัยอยู่  คนแก่หรือผู้สูงอายุไม่ชอบให้แต่งแต้มสีสันอาหาร  ชอบกินแบบเรียบ ๆ แต่อร่อย ไม่หวานจัดกำตามที่เห็น   
*สำหรับคนสมัยใหม่นิยมสีสันสวย ๆ งาม ๆ  รูปทรงน่ารักของขนมวุ้น  คนที่คิดจะทำกินหรือทำขายก็หาซื้อแม่พิมพ์สำเสร็จรูปมาตกแต่งวุ้นก็ได้นะครับ

ภาคที่เห็นเป็นวุ่นกะทิที่ทำในงานขึ้นบ้านใหม่ของพี่สาวผู้เขียน  ทำตอนกลางคืน  นำมาเลี้ยงตอนกลางวัน  ไม่บูดแถมยังเซตตัวดี  ตัดใส่จานไม่มีน้ำ  ถือว่ารอบนี้ใช้ได้  ลองนำไปทำกันดูนะครับ

เขียน  วันที่ 30  กันยายน  2557

ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

การดองผลไม้

วิธีดองผลไม้


วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
- ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
- หัวเชื้อดอง
- น้ำเปล่า

อุปกรณ์
- ขวดโหลหรือถังหมัก
- หนังยางรัดของ
- พลาสติก


วิธีทำ
1. คัดเลือกผลไม้สำหรับใช้ดอง  ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาดอง เช่น ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  หรือผลไม้ที่มีรสอมเปรี้ยว  เช่น  กระท้อน  มะม่วง  มะยม  มะขาม  ฝรั่ง  ฯลฯ
สำหรับส่วนตัวผู้เขียวแล้วชอบฝรั่งดองมันอร่อยดี  เลือกเอาผลที่สุกกำลังพอดีเนื้อแน่น ๆ  เวลาดองเสร็จมันจะกรอบหวานอร่อย
2.  เตรียมขวดโหลเทน้ำใส่ตามประมาณที่กำหนด  ใส่ผงเชื้อดอง  ปัจจุบันมีแบบสำเร็จรูปง่ายมาก ไม่ต้องเตรียมอะไรเลยเพียงแต่มีผงเชื้อถุงเดียวก็ดองได้สารพัด  ราคาก็ไม่แพงมากประมาณ 50  บาท  ดองผลไม้ได้หลายกิโล
3.  นำผลไม้ที่ล้างสะอาดจัดวางลงในโหลดองหมัดคลุมด้วยพลาสติกรัดด้วยหนังยางรัดให้แน่นทิ้งไว้ประมาณ 5 – 15  วันก็นำมารับระทานได้





***หมายเหตุ***
การดองผลไม้เป็นการถนอมอาหารให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน  บางครั้งการรับประทานผลไม้ดองบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ  ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานบ่อย ๆ   แต่ก็อย่างว่าของดองมันมักจะมีความอร่อยที่เราอดใจไว้ไหว  ฝากไว้เป็นเมนูถนอมอาหารอีกหนึ่งเมนูแล้วกันนะครับ  ไม่อยากลองทำกันดูอร่อยด้วย

ยี่ห้อของหัวเชื้อที่นิยมนำมาดองก็เช่น  “นกแก้ว”   ก็อร่อยดี 


เขียน  วันที่ 15  กันยายน  2557

ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู