วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้าวต้มมัดไส้ถั่ว

ข้าวต้มมัดไส้ถั่ว : สูตรโบราณ



วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  ข้าวสารเหนียว
2.  ถั่วลิสงเกาะเปลือกใน
3.  เกลือ
4.  ใบตองฉีกเป็นแผ่น
5.  น้ำเปล่า

วิธีทำไส้
แกะเปลือกในถั่วลิสงออกให้หมด  เหลือไว้แต่เนื้อขาว ๆ

วิธีทำ
1. นำใบตองที่เตรียมไว้วางบนมือ  ใช้ช้อนตัดข้าวสารเหนียวเทลงใบตองพอประมาณ  ตัดถั่วผสมกับข้าว  พับใบตองตามแนวยาว  พับหัวพับท้าย  จัดเรียงไว้  เมื่อได้ครบ 5 – 6 ชิ้น  มัดรวมกันเป็นมัดใหญ่ด้วยใบตองอีกรอบ  ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้
2.  ทำชู้ข้าวต้ม  โดยห่อใบตองเป็นหมัดเล็ก ๆ 1 ชิ้น 
3.  เตรียมพาชนะสำหรับต้มโดยจัดเรียงข้าวต้มเป็นชั้น ๆ  ใส่ชู้ข้าวต้มมัดที่เตรียมไว้ด้วย  เทน้ำให้ท่วม  
5.  ตั้งไฟให้ร้อน  ใช้เวลาต้มประมาณ 40 – 60  นาที  หรือสังเกตจากสีใบตองที่ห่อจะเริ่มเป็นสีน้ำตาล ข้าวต้มจะแน่นเนื่องจากข้าวเหนียวที่อยู่ข้างในพองตัว ก็ยกลงจากเตาพักไว้ให้เย็น  เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

*หมายเหตุ
ข้าวต้มมัด  เป็นขนมพื้นบ้านของไทย ที่ทำง่าย  ซึ่งนิยมทำไส้กล้วยกับไส้ถั่ว อร่อยคนละแบบ

สำหรับการต้มข้าวต้มมัดคนโบราณนิยมทำชู้ข้าวต้มลงไปด้วย  ซึ่งเป็นความเชื่อ  จะทำให้ข้าวต้มสุกอย่างทั่วถึง  เมล็ดข้าวด้านในใบตองจะได้สุกพร้อมกัน

เขียน  วันที่ 26/09/2556
ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู


ข้าวต้มมัดไส้กล้วย

ข้าวต้มมัดไส้กล้วย : สูตรโบราณ




วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  ข้าวสารเหนียว
2.  กล้วยน้ำว้าสุก
3.  เกลือ
4.  ใบตองฉีกเป็นแผ่น
5.  น้ำเปล่า

วิธีทำไส้
ผ่ากล้วยน้ำว้าตามแนวยาวออกเป็น 3 – 4  ชิ้น ขนาดพอดี

วิธีทำ
1. นำใบตองที่เตรียมไว้วางบนมือ  ใช้ช้อนตัดข้าวสารเหนียวเทลงใบตองพอประมาณ  วางกล้วยน้ำว้าผ่าตามยาว  พับใบตองตามแนวยาว  พับหัวพับท้าย  จัดเรียงไว้  เมื่อได้ครบ 5 – 6 ชิ้น  มัดรวมกันเป็นมัดใหญ่ด้วยใบตองอีกรอบ  ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้
2.  ทำชู้ข้าวต้ม  โดยห่อใบตองเป็นหมัดเล็ก  ๆ 1 ชิ้น  แต่ไม่ใส่ข้าวและกล้วย
3.  เตรียมพาชนะสำหรับต้มโดยจัดเรียงข้าวต้มเป็นชั้น ๆ  ใส่ชู้ข้าวต้มมัดที่เตรียมไว้ด้วย  เทน้ำให้ท่วม  
5.  ตั้งไฟให้ร้อน  ใช้เวลาต้มประมาณ 40 – 60  นาที  หรือสังเกตจากสีใบตองที่ห่อจะเริ่มเป็นสีน้ำตาล ข้าวต้มจะแน่นเนื่องจากข้าวเหนียวที่อยู่ข้างในพองตัว ก็ยกลงจากเตาพักไว้ให้เย็น  เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

*หมายเหตุ
ข้าวต้มมัด  เป็นขนมพื้นบ้านของไทย ที่ทำง่าย  ซึ่งนิยมทำไส้กล้วยกับไส้ถั่ว อร่อยคนละแบบ

สำหรับการต้มข้าวต้มมัดคนโบราณนิยมทำชู้ข้าวต้มลงไปด้วย  ซึ่งเป็นความเชื่อ  จะทำให้ข้าวต้มสุกอย่างทั่วถึง  เมล็ดข้าวด้านในใบตองจะได้สุกพร้อมกัน

เขียน  วันที่ 26/09/2556

ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

ขนมเทียน ขนมจ๊อก สูตรขนมไทยพื้นบ้าน

ขนมเทียน : สูตรโบราณ



วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  น้ำตาลมะพร้าว
2.  น้ำตาลทราย
3.  มะพร้าวขูดฝอย
4.  เกลือ
5.  แป้งข้าวเหนียว
6.  แป้งข้าวจ้าว
7.  น้ำเปล่า
8.  ใบตองฉีกเป็นแผ่น
9.  น้ำมันพืช

วิธีทำไส้
1.  ตั้งกระทะ  เทมะพร้าวขูดฝอยลงไป  เทน้ำตาลทรายประมาณครึ่งกิโล  น้ำตาลมะพร้าวประมาณ 3  ขีด  ลงไปผสมกับมะพร้าว  ใส่เกลือป่นลงเล็กน้อย
2.  ตั้งไฟอ่อน ๆ  เคี้ยวจนน้ำตาลละลายซึมเข้าเนื้อมะพร้าวขูดฝอยจนชุ่ม  เคี้ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ไปเรื่อย ๆ จนเหนียวเป็นก้อน  ปิดไฟพักไว้

วิธีนวดแป้งและห่อไส้
1. นำแป้งข้าวเหนียวประมาณ 1  กิโลกรัม  เทลงในพาชนะนวดแป้ง  ใส่แป้งข้าวจ้าวประมาณ 1  ขีด  ผสมให้เข้ากันเทน้ำเปล่าทีละน้อย นวดแป้งไปเรื่อย  ๆ จนเป็นก้อน  ให้แป้งมีความเหนียวไม่ติดมือ  ใช้เวลาประมาณ 5 - 10  นาที
2. เตรียมถาดใส่น้ำมันพืชไว้  ปั้นแป้งเป็นก้อนขนาดประมาณหัวแม่มือบีบให้แบน  ปั้นไส้ที่เตรียมไว้เป็นก้อนกลม ๆ ประมาณหัวแม่มือเช่นกัน  ค่อย ๆ  ห่อให้เป็นก้อนกลม ๆ แล้ววางไว้ในถาดน้ำมันพืช
3. พับจีบใบตองให้เป็นทรงกรวย  นำขนมที่ปั้นไว้ใส่ลงไปค่อย ๆ พับใบตองจากด้านหน้าพับลงไป  จัดรูปทรงให้เป้นกรวยแหลม  พับขอบกรวบด้านซ้าย  พับขอบกรวยด้านขวา แล้วนำปลายของกรวยที่เหลือพับสอดเข้าไปให้เป็นรูปทรงตามรูป
4.  เตรียมพาชนะสำหรับนึ่งโดยจัดเรียงขนมเทียนที่ห่อวางไว้เป็นชั้น ๆ  
5.  ตั้งน้ำร้อนให้เดือดยกพาชนะสำหรับนึ่งขึ้นเตา  ใช้เวลานึ่งประมาณ 30 – 40  นาที  หรือสังเกตจากสีและกลิ่นของขนม  ใบตองที่ห่อจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลขนมเทียนจะมีกลิ่นหอม ๆ  ก็ยกลงจากเตาพักไว้ให้เย็น  เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

*หมายเหตุ
ขนมเทียน  ขนมจ๊อก  เป็นขนมพื้นบ้านของไทย  ซึ่งแต่ละภาคเรียกชื่อแตกต่างกันไปบ้าง  เช่นภาคเหนือเรียกขนมจ๊อก  ภาคกลางเรียกขนมเทียน  ขนมนมสาว  ซึ่งขนมเทียนแบบโบราณนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไส้หวานที่ทำจากมะพร้าว  ส่วนปัจจุบันมีการประยุกต์ทำไส้เค็ม  และไส้อื่นๆ ตามความชอบ 

และเพิ่มเติมเทคนิคตามยุคตามสมัย คือ  การจุ่มขนมในถาดน้ำมันพืช  ช่วยให้ขนมไม่ติดใบตอง และไม่ติดมือ  เป็นเทคนิคที่เกิดขึ้นในยุคหลังมานี้เองนะจ๊ะ  แต่โดยรวมแล้วรสชาติยังเหมือนเดิม


เขียน  วันที่ 26/09/2556

ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

รวมมิตร : เมนูของหวานคลายร้อน

รวมมิตร : เมนูของหวานคลายร้อน





วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  เฉาก๊วย
2.  ขนมปังตัดเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
3.  ลูกชิดเชื่อม
4.  ฟักทองเชื่อม
5.  ฟักเขียวเชื่อม
6.  ถั่วแดงต้ม
7.  ทับทิมกรอบ
8.  น้ำเชื่อม
9.  นมข้นจืด
10.  น้ำหวานสีต่าง ๆ
11.  น้ำแข็งใส


วิธีทำ
1. ตักส่วนผสมต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ใส่ถ้วย  เช่น   เฉาก๊วย  ขนมปังตัดเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า  ลูกชิดเชื่อม  ฟักทองเชื่อม  ฟักเขียวเชื่อม   ถั่วแดงต้ม  ทับทิมกรอบ
2.  ลาดน้ำเชื่อม  นมข้นจืด  น้ำหวานสีต่าง  ๆ  ลงไป  ใส่น้ำแข็งใส่ปั่น   
3.  จัดเตรียมช้อนตัดกินได้เลย

*หมายเหตุ
เมนูของหวาน รวมมิตร  ง่ายสุด ๆ ไม่ต้องสอนใคร ๆ ก็ทำได้

อร่อยง่าย ๆ ทำได้ทุกบ้าน

เขียน  วันที่ 26/09/2556

ผู้เขียน  พยัคฆ์กูรู

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

สูตรน้ำจิ้มไก่ : เมนูง่าย ๆ ทำเองได้ไม่ต้องซื้อ

สูตรน้ำจิ้มไก่  น้ำจิ้มหวาน





วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  พริกชี้ฟ้าสุก
2.  น้ำตาลทราย
5.  เกลือ
6.  น้ำส้มสายชู
7.  แป้งข้าวโพด
8.  น้ำเปล่า


วิธีทำ
1. นำพริกชี้ฟ้าสุกไปปั่นให้ละเอียด  
2. ตั้งกระทะ  ใส่น้ำตาลทรายขาวพอประมาณ   น้ำเปล่า  เคี้ยวให้น้ำตาลละลายเป็นเนื้อเดียวกัน  ใส่เกลือป่นลงไป
3.  นำแป้งข้าวโพดละลายน้ำ  เทลงไปผสมกับน้ำตาลที่ต้มไว้ (ควรใส่พอดีประมาณ 1 ถ้วยก็พอ  เพราะเราต้องการแต่ความข้นเล็กน้อยเท่านั้น)
4.  เติมน้ำส้มสายชู  ชิมให้รสชาติหวาน ๆ เปรี้ยว ๆ ใส่พริกชี้ฟ้าสุกปั่นที่เตรียมไว้ลงไป ค่อย ๆ ใส่ที่ละนิด ปรุงรสตามชอบ
5.  ยกลงจากเตาทิ้งไว้ให้เย็น
 

*หมายเหตุ
น้ำจิ้มไก่ นิยมรับประมาณกับอาหารประเภททอด  ซึ่งทำง่ายมาก  ส่วนตัวแล้วเวลาทำใช้วิธีกะปริมาณส่วนผสมเอา และชิมให้ได้รสตามใจชอบ    


เขียน 
วันที่ 21/09/2556

ผู้เขียน 

ครัวนิวแนว

ผัดหมี่เส้นขนมจีน

ผัดหมี่พื้นเมือง (ล้านนา)




วัตถุดิบที่ต้องเตรียม
1.  พริกชี้ฟ้าสุก
2.  ซีอิ้วดำ
5.  น้ำตาลมะพร้าว
6.  ขนมจีน
7.  กระเทียม
8.  น้ำมันพืช
9.  ต้นหอม  ผักชี
10.  เกลือ หรือน้ำปลา
11.  ผงปรุงรส
12.  ผักกาดดอง

13.  เต้าเจี้ยว

วิธีทำ
1. น้ำขนมจีนที่เตรียมไว้ใส่ภาชนะที่เตรียม  ใส่ซีอิ้วดำ และน้ำตาลมะพร้าวที่ละลายน้ำ  เกลือ เต้าเจี้ยวถั่วเหลืองเล็กน้อย ๆ ผงปรุงรส ใช้มือขย้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน  ชิมรสให้มีรสหวาน ๆ เค็ม ๆ กลมกล่อม
2. ตั้งกระทะ  ใส่น้ำมันพืชเล็กน้อย  ใส่กระเทียมโคลกละเอียดนำไปเจียวให้หอม เทหมี่ขนมจีนที่เตรียมไว้ลงไป  ผัดให้หอม
3.  ซอยพริกชี้ฟ้าเป็นเส้น ๆ  หั่นผักชี  ผักกาดดองให้สวยงาม
4.  เตรียมจานใส่หมี่ผัด  ใส่พริกชี้ฟ้า ผักชี กระเทียมเจียว ผักกาดดองตามใจชอบ


*หมายเหตุ
หมี่ผัดพื้นเมือง  เป็นการถนอมอาหารจากการรับประทานขนมจีนไม่หมด และประยุกต์เมนูใหม่ ๆ ขึ้น โดยการนำมาทำเส้นขนมจีนมาผัด เรียกชื่อตามคนเหนือเราว่า หมี่ผัด  ซึ่งอร่อยไปอีกแบบเป็นอาหารประเภทของว่างของคนเหนืออีกแบบที่นิยมทำขายกันโดยทั่วไป   
ทำหลายครั้งแล้วง่าย ๆ มีวิธีการไม่ยุ่งยาก  แถมยังอร่อยด้วย หุหุ
เคยเห็นตั้งแต่เด็ก ๆ แม่มักจะซื้อหมี่ผัดใส่ห่อใบตองมาให้กินบ่อย ๆ     


เขียน 
วันที่ 21/09/2556

ผู้เขียน 
ครัวนิวแนว