วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยำหน่อไม้


ยำหน่อไม้


ส่วนประกอบ

หน่อไม้

ใบขิง 4 – 5 ใบ

หอมแดง 2 – 3 หัว

กระเทียม 2 - 4 กลีบ

พริอแห้งต้มหรือย่างตามชอบ

น้ำปู

แคบหมู

น้ำปลา

น้ำปลาร้าต้ม

วิธีทำ

1. นำหน่อไม้ไร่ไปต้มให้สุก นำมาสับเป็นเส้น ๆ บาง ๆ พอสมควร

2. ตำพริกแห้งย่าง หอมย่าง กระเทียม ให้เข้ากันนำแคบหมูตำพอหยาบ ๆ

3. นำน้ำปลาร้าต้มผสมน้ำปู ใส่น้ำพริกที่ตำในข้อ 2 มาร่วมกัน ใส่หน่อไม้ไร่ต้ม ซอยใบขิงผสมเข้าไป เติมน้ำปลาตามชอบ

ทานกับแคบหมู ใบขิง อร่อยดี

อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ มีสูตรแบบฉบับของแต่ละบ้านอาจแตกต่างกันเล็กน้อย และตัดแปลงเพื่อความอร่อยตามยุคสมัย

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเขียน

28/11/2554

หน่อไม้ดอง (แบบเมืองเหนือ)

หน่อไม้ดอง (แบบเมืองเหนือ)

เรียกว่าหน่อโอ่


ส่วนประกอบ

หน่อไม้

เกลือ

น้ำซาวข้าว

วิธีทำ

1. นำหน่อไม้ที่ได้มาล้างและปลอกเปลือกออกให้เหลือแต่ส่วนหน่อขาว ๆ ใช้มีดหั่นแนวยาวขนาดพอประมาณ

2. นำน้ำซาวข้าว เป็นน้ำสำหรับหมักข้าวเหนียวซึ่งมีเชื้อหมักตามธรรมชาติ เท่ลงไปให้ท่วมหน่อที่จัดใส่ขวด ใส่เกลือประมาณ 1 – 2 ช้อนชา คลุกให้เข้ากัน

3. ใช้เวลาหมักประมาณ 3 – 5 วัน สามารถนำมารับประทานได้

วิธีรับประทาน

จะนำไปล้างน้ำสะอาดก่อนก็ได้ หรือว่าไม่ล้างก็ได้

รับประทนกับน้ำพริกดำ คือ พริกแห้งย่างไฟ โคลกกับกระเทียม ใส่น้ำปลาเล็กน้อย จิ้มกินอร่อยมาก

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเขียน

28/11/2554

สาคูไส้หมู


สาคูไส้หมู


ส่วนผสมไส้

ประกอบด้วย
เนื้อหมูสับบดละเอียด 500 กรัม

หัวหอมแดง 300 กรัม
ถั่วลิสงคั่วป่นละเอียด 1 1/2 ถ้วยตวง
รากผักชีหั่นละเอียด 4 – 6 ราก
กระเทียม 5 – 7 กลีบ
น้ำปลา

พริกไทยเม็ด
น้ำตาลมะพร้าว 300 กรัม

น้ำมัน 1 ทัพพี

วิธีทำไส้สาคูไส้หมู

1. นำหมูที่ได้มาสับให้สะเอียดพอสมควร

2. นำหอมแดงมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอประมาณ

3. คั่วถั่วลิสงให้สุก พอเย็นแล้วนำมาขัดเลือกออกให้เหลือแต่เมล็ดถั่ว จากนั้นนำไปโขลกให้ละเอียดพอประมาณ ไม่ควรละเอียดมาก ให้มีเนื้อสัมผัสของถั่วเหลืออยู่ด้วย

4. จากนั้นโคลกรากผักชี กระเทียม พริกไทยตามอัตราส่วนที่กำหนด โดยพริกไทยสามารถกำหนดตามความชอบ หากชอบมากใส่ประมาณ 1 – 2 ช้อนชาได้ แต่หากไม่ชอบใส่ประมาณ 5 – 10 เม็ดก็พอ

5. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไป ใช้ไฟปานกลาง น้ำรากผักชี กระทียม พริกไทยลงไป เจียวให้มีกลิ่นหอม ใส่หมูบด หอมแดงน้ำตาลมะพร้าว น้ำปลา เวลาใส่น้ำปลาควรให้โดนขอบกระทะ จะทำให้หอมขึ้น จากนั้นนำถั่วลิสงลงไป ผัดจนแห้ง พักไว้ให้เย็น ปั้นเป็นก้อนพอคำ


การทำแป้งสาคู

สาคูเม็ดเล็ก 4 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า

วิธีทำแป้งสาคู
1. ล้างทำความสะอาดแป้งสาคู 1 รอบ อย่างรวดเร็ว

2. นำน้ำแช่แป้งสาคูประมาณ 1 ฝามือ พอสาคูดูดน้ำประมาณ 10 - 15 นาที หลังจากนั้นนวดแป้งให้เหนียวเป็นสามารถปั้นได้

การทำสาคูไส้หมู

1. นำแป้งสาคูที่ได้มาแผ่เป็นแผ่นวงกลม ใส่ไส้ที่เตรียมไว้ปั้นเป็นก้อน

2. นำใบตองมาวางรองพื้นถาดนึ่งพรมน้ำมันลงไปพอประมาณ เพื่อไม่ให้ติดถาดนึ่ง ตั้งหม้อลังถึงน้ำเดือด ยกถาดนึ่งวางลงไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 5 – 7 นาที ยกลงใส่กรเทียมเจียว กับผักเคียงที่ชอบ เช่น ผักสลัด ผักกาดแก้ว พริกขี้หนู

นามปากกา

พยัคฆ์กูรู

วันเขียน

28/11/2554

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ข้าวต้มเต้าเจี้ยว


ข้าวต้มเต้าเจี้ยว



วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

1. ข้าวจ้าว

2. เต้าเจี้ยว

3. น้ำตาลทราย

4. ขึ้นฉ่าย

5. พริกขี้หนูสวน

6. กระเทียม

7. น้ำต้มสุก

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. หม้อต้ม

2. ทัพพี

ส่วนผสมข้าวต้ม

1. ข้าวสวย

2. น้ำเปล่า

ส่วนผสมน้ำจิ้ม

1. เต้าเจี้ยว

2. กระเทียม

3. พริกขี้หนู

4. น้ำตาลทราย

5. น้ำต้ม

วิธีทำข้าวต้ม

1. ต้มข้าวกับน้ำประมาณ 15 นาที

วิธีทำน้ำจิ้ม

2. นำกระเทียมกับพริก ขึ้นฉ่ายประมาณ 1 ก้านมาโคลกรวมกันจนละเอียด จากนั้นตักเต้าเจี้ยวส่วนเนื้อมาบดรวมกันพริกกระเทียมตักใส่ถ้วยใส่น้ำตาลทรายเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ นำน้ำต้มมาผสมให้ข้นเล็กน้อย ชิมรสให้ออกรสเค็ม เผ็ด หวานเล็กน้อย

วิธีรับประทาน

นำข้าวต้มมาใส่ขึ้นฉ่ายโรยหน้ารับประทานกับน้ำจิ้ม รสชาติคล้ายๆ กับข้าวต้มปลา แต่ไม่มีปลาเท่านั้นเอง

*หมายเหตุ

ข้าวต้มเต้าเจี้ยว เป็นอาหารสูตรลดความอ้วนของผู้เขียนเอง เนื่องจากไม่มีเนื้อสัตว์จึงใช้เต้าเจี้ยวและน้ำตาลเพื่อเพิ่มพลังงานนิดหน่อย เหมาะกับผู้กำลังลดน้ำหนักและลดความดันได้ดีเพราะไม่ใส่เกลือหรือน้ำปลา มีขึ้นฉ่ายลดระดับความดันในเลือด

เขียน วันที่ 08/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู

ขนมถั่วแปบ


ขนมถั่วแปบ


วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

1. แป้งข้างเหนียว

2. มะพร้าวขูด

3. ถั่วเขียวถอดเปลือก

4. น้ำตาลทราย

5. เกลือ

6. ใบเตย

7. น้ำเปล่า

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. หม้อหรือกระทะ

2. ทัพพีหรือกระชอน

ส่วนผสมแป้ง

-แป้งข้าวเหนียว

-น้ำใบเตย

-น้ำเปล่า

ส่วนผสมไส้

-ถั่วเขียว

-น้ำตาลทราย

-เกลือ

วิธีทำขนมถั่วแปบ

วิธีทำแป้ง

1. นำแป้งข้าวเหนียวมาผสมกับน้ำต้มสุกและน้ำใบเตยที่ละนิด แล้วนวดให้แป้งมีเนื้อสัมผัสที่นวลละเอียดไม่เป็นเม็ด นวดจนเป็นก้อนกลมๆ จากนั้นนำมาผ้าข้าวคลุมพักไว้

วิธีทำไส้

2. นำถั่วเขียวไปแช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นนำไปต้มจนสุกแล้วตักถั่วพักไว้ให้เย็น หรือจะนำไปนึ่งก็ได้

3. นำถั่วเขียวที่สุกแล้วมาผสมกับน้ำตาลทรายเหลือเล็กน้อย

วิธีทำ

4. น้ำแป้งที่พักไว้มาปั้นเป็นก้อนแล้วกดให้เป็นแผ่นใส่ไส้พอประมาณทิ้งไว้

5. ตั้งหม้อเทน้ำพอประมาณใสใบเตย 2 ใบ ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นนำขนมที่ปั้นใส่ลงไปในน้ำเดือด รอให้ขนมลอยขึ้น จากนั้นใช้กระชอนหรือทัพพีตักขึ้นสะเด็ดน้ำแล้วนำไปคลุกกันมะพร้าวขูดถั่วเขียวที่เตรียมไว้

6. เวลารับประทานใครชอบหวานใส่น้ำตาลโรยเพิ่มได้

*หมายเหตุ

*การขนมขึ้นอยู่กับรสมือของแต่ละคน ผู้เขียนจึงไม่กำหนดอัตราส่วนที่ชัดเจน เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีความชื่นชอบในรสชาติที่แตกต่างกัน ผู้จัดทำจึงใช้วิธีแนะนำให้ประยุกต์ตามความชอบเพื่อให้ถูกปากผู้ชิมมากที่สุด

*ขนมถั่วแปบเป็นขนมพื้นบ้านที่ทำง่าย มีลักษณะเหมือนถั่วแปบจึงถูกเรียกชื่อว่าขนมถั่วแปบ

*การทำขนมถั่วแปบเหมาะสำหรับคนใจร้อนที่ไม่เคยทำขนมมากก่อน เพราะง่ายมากและไม่มีความยุ่งยากในการทำ

เขียน วันที่ 08/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู

ขนมต้ม


ขนมต้ม


วัตถุดิบที่ต้องเตรียม

1. แป้งข้างเหนียว

2. มะพร้าวขูด

3. น้ำตาลมะพร้าว

4. น้ำตาลทราย

5. เกลือ

6. ใบเตย

7. น้ำเปล่า

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1. หม้อหรือกระทะ

2. ทัพพีหรือกระชอน

ส่วนผสมแป้ง

-แป้งข้าวเหนียว

-น้ำใบเตย

-น้ำเปล่า

ส่วนผสมไส้

-มะพร้าวขูด

-น้ำตาลทราย

-น้ำตาลมะพร้าว

-เกลือ

วิธีทำแป้ง

นำแป้งข้าวเหนียวมาผสมกับน้ำต้มสุกและน้ำใบเตยที่ละนิด แล้วนวดให้แป้งมีเนื้อสัมผัสที่นวลละเอียดไม่เป็นเม็ด นวดจนเป็นก้อนกลมๆ จากนั้นนำมาผ้าข้าวคลุมพักไว้

วิธีทำไส้

1. ตั้งกระทะแล้วนำน้ำตาลทราย 1 ส่วน น้ำตาลมะพร้าว 2 ส่วน เทลงไปผสมกัน ใช้ไฟอ่อน ๆ ค่อยคนให้น้ำตาลละลาย จากนั้นนำเกลือใส่เล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติ เมื่อน้ำตาลทั้ง 2 ชนิดละลายเป็นน้ำข้น ๆ นำมะพร้าวลงไปผสมแล้วกวนให้เหนียวจนมะพร้าวใส่เป็นสีน้ำตาล จากนั้นยกกระทะลงแล้วพักไส้ไว้ให้เย็นพอประมาณแล้วปั้นเป็นลูกกลม ๆ พอคำ (ควรปั้นขนาดที่ร้อนกำลังพอดี ไม่ควรให้เย็นมากจะทำให้ปั้นไม่เป็นก้อน)

2. น้ำแป้งที่พักไว้มาปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วกดให้เป็นแผ่นใส่ไส้มะพร้าวลงไปปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ทิ้งไว้ (ควรนำแป้งมาโรยไม่ให้ลูกติดกันเวลาปั้นทิ้งไว้)

3. ตั้งหม้อเทน้ำพอประมาณใสใบเตย 2 ใบ ต้มน้ำให้เดือด จากนั้นนำขนมที่ปั้นใส่ลงไปในน้ำเดือด รอให้ขนมลอยขึ้น จากนั้นใช้กระชอนหรือทัพพีตักขึ้นสะเด็ดน้ำแล้วนำไปคลุกกันมะพร้าวขูดที่เตรียมไว้

*หมายเหตุ

*การขนมขึ้นอยู่กับรสมือของแต่ละคน ผู้เขียนจึงไม่กำหนดอัตราส่วนที่ชัดเจน เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีความชื่นชอบในรสชาติที่แตกต่างกัน ผู้จัดทำจึงใช้วิธีแนะนำให้ประยุกต์ตามความชอบเพื่อให้ถูกปากผู้ชิมมากที่สุด

*ขนมต้มมี 2 แบบ ที่นิยมทำกัน คือ ขนมต้มขาว กับขนมต้มใบเตย ขนมต้มขาวมีวิธีการเหมือนกันทุกประการแต่ไม่ใส่น้ำใบเตย ส่วนตัวผู้เขียนชอบขนมต้มใบเตยมากกว่าเพราะมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน

*รสชาตของขนมต้มจะออกหวาน ๆ หอมมะพร้าวและใบเตย

*การใส่น้ำตาลมะพร้าวกับน้ำตาลทราย เนื่องจากเป็นสูตรเฉพาะของผู้เขียน โดยปกติสมัยก่อนไม่นิยมใส่น้ำตาลทรายเพราะหายาก แต่ปัจจุบันน้ำตาลทรายถูกกว่าน้ำตาลมะพร้าว อีกทั้งน้ำตาลมะพร้าวมีรสชาตหวานละมุนไม่หวานจัดทำให้เวลารับประทานไม่ค่อยหวานเท่าที่ควร ส่วนน้ำตาลมีรสชาตหวานแหลม การนำน้ำตาลทั้งสองมาผสมเข้ากันทำให้รสชาตพอดี ไม่เปลืองน้ำตาลมาก

*ไม่ควรใส่น้ำเวลากวนไส้เนื่องจากจะเสียเวลาทำให้เปลืองแก๊ส เนื่องจากน้ำจากมะพร้าวขูดจะออกมาผสมกับน้ำตาลที่เคี้ยว การเคี้ยวควรให้เหนียวมากจะทำให้ไม่บูดง่าย และขนมออกมาอร่อยไม่แฉะ

*การผสมแป้งกับน้ำ กับน้ำใบเตยควรเทลงไปทีละนิดจะทำให้แป้งไม่แฉะได้เนื้อสัมผัสตามต้องการคือเหนียวเป็นก้อนปั้นง่าย

การทำขนมต้มง่ายที่สุด แต่ใช้ทักษะและความอดทนเท่านั้นเพราะมันร้อนเวลาทำ

ขนมต้มยังเป็นขนมมงคลที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์


เขียน วันที่ 08/05/2554

ผู้เขียน พยัคฆ์กูรู